วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

short key

Short Key

Alt + Tab เปลี่ยนหน้าต่างของซอฟต์แวร์ ที่เปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้น
Ctrl + Esc ใช้เรียก Start Menu ขึ้นมาใช้งาน
Alt + F4 ปิดหรือออกจากโปรแกรม (Close) ที่เปิดใช้งานอยู่ขณะนั้น
Ctrl + Alt + Del สั่งบูทเครื่องใหม่ กรณีที่ไม่สามารถสั่งงานต่าง ๆ ได้แล้ว
Print Screen เก็บภาพหน้าจอขณะนั้นเก็บไว้ โดยจะนำไป past วางในโปรแกรมแต่งภาพได้
Alt เรียก เมนูด้านบน โดยจะต้องใช้ปุ่มลูกศร สำหรับการเลือกทำงานควบคู่กันไปด้วย
Esc ยกเลิกการทำงาน หรือออกจากการตั้งค่าต่าง ๆ หรือแทนคำว่า Cancel เป็นส่วนมาก
Enter ใช้สำหรับการยอมรับ หรือแทนการกด OK เป็นส่วนมาก
Space Bar ใช้เลือกบนปุ่มที่มีการ high light ไว้ จะใช้งานคล้าย ๆ กับปุ่ม Enter
Homeหรือ Ctrl + Home ใช้เลื่อน Scrool Bar ไปที่ตำแหน่งแรกของหน้าต่างนั้น
End หรือ Ctrl + End ใช้เลื่อน Scroll Bar ไปที่ตำแหน่งท้ายสุดของหน้าต่างนั้น
Shift + ปุ่มลูกศร มักจะใช้แทนการเลือก ช่วงของตัวอักษรหรือข้อความนั้น สำหรับการแก้ไขหรือการ copy
F1 มักจะใช้แทนความหมายของการเรียก Help File ขึ้นมาช่วยเหลือ
F2 มักจะใช้แทนความหมายของการ Rename ชื่อไฟล์ หรือการแก้ไขข้อความต่าง ๆ
F3 หรือ Ctrl + F3 ใช้สำหรับการค้นหาต่าง ๆ
F5 Refresh
Ctrl + F ใช้สำหรับการค้นหาต่าง ๆ คล้ายกันกับ F3
Ctrl + A ใช้สำหรับการเลือกทั้งหมดหรือแทนคำว่า Select All
Ctrl + C ใช้สำหรับการ copy ภาพหรือตัวอักษรที่เลือก เก็บไว้
Ctrl + X ใช้สำหรับการ cut ภาพหรือตัวอักษรที่เลือก เก็บไว้
Ctrl + V ใช้สำหรับการ past ภาพหรือตัวอักษรที่ได้เก็บไว้จากการ copy หรือ cut
Shift + Del ลบ Item ที่เลือกโดยไม่เก็บใน Recycle Bin
Shift + ใส่แผ่น cd-rom ไม่ให้ CD-ROM ทำ Auto run
Alt + A Select All หรือ เลือกทั้งหมด

ที่มา : www.mut.ac.th

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

วิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

การพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นขั้นตอนสำคัญซึ่งเราควรทำความเข้าใจก่อนศึกษาเรื่องอื่นซึ่งเนื้อหาในบทนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางชิ้นในกรณีที่เราต้องการซื้ออุปกรณ์มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เอง หรือเราต้องการอัพเกรดอุปกรณ์บางชิ้นภายในเครื่อง เช่น ต้องการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่มีความจุมากกว่าเดิม หรือซื้อแรมมาเพิ่มให้ประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น
เนื้อหาในส่วนนี้จะให้รายระเอียดและขั้นตอนในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เราได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด และไม่ถูกหลอกในการเลือกซื้อ โดยพอสรุปขั้นตอนที่เราควรคำนึงถึงเป็นแผนภาพดังต่อไปนี้

ลักษณะการใช้ของเครื่อง
สเป็คของเครื่อง
ราคาเครื่อง
บริการหลังการขาย
ลักษณะการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์


ขั้นตอนแรกที่เราควรพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นคือต้องการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานอะไร เป็นต้นเพื่อที่เราจะสามารถเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานโดยเราจะแบ่งระดับผู้ใช้งานเป็น 3 ประเภท คือ1. Basic User ได้แก่ ผู้ใช้โปรแกรมประเภท Windows 95/98/Me,Ms Office และดูหนังฟังเพลง2. Power User ได้แก่ ผู้ใช้งานด้านกราฟฟิกและเล่นเกม เช่น โปรแกรม Photoshop ,AutoCAD3. Graphic User ได้แก่ ผู้ที่ใช้งานด้านกราฟฟิกเป็นหลัก เช่น โปรแกรม Photoshop,AutoCAD และ 3D Studio Max


สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์

เมื่อเราทราบถึงลักษะการใช้งานของเครื่องแล้ว ต่อมาเราจะพิจารณาถึงสเป็ค ของเครื่อง ซึ่งเราควรดู สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานหรือไม่ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังนี้หน่วยประมวลผล (CPU) ว่าเป็นรุ่นใด เช่น Celeron Pentium II Pentium III และ CPU เหล่านี้มีความเร็วในการทำงานเท่าไหร่มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ว่ามีขนาดและความเร็วเท่าไหร่ เช่น แรมขนาด 64 MB มีความเร็วในการทำงาน 100 MHzฮาร์ดดิสก์มีขนาดเท่าไหร่ มียี่ห้อหรือเป็นชนิดใดและมีความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเท่าไหร่ใช้เมนบอร์ดรุ่นไหนมีการ์ดจอยี่ห้อหรือรุ่นอะไร และมีหน่วยความจำในการ์ดจอเท่าไหร่มีการ์ดเสียงและลำโพงยี่ห้อหรือรุ่นอะไร ฯลฯ

ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์

จากตัวอย่างดังกล่าว การที่เราจะเข้าใจใบเสนอราคาเครื่อง ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่ผู้ใช้ควรมีพื้นฐานภาษาอังกฤษ เพราะใบเสนอราคาเครื่องโดยทั่วไปจะใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด ปัญหาพื้นฐานของผู้ใช้มือใหม่ที่มักจะสับสนว่า อะไรคือชื่อยี่ห้อ อะไรคือชื่ออุปกรณ์ เพราะมองในใบเสนอราคามีแต่ภาษาอังกฤษทั้งนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ การหาชื่ออุปกรณ์ ซึ่งชื่ออุปกรณ์จะใช้คำหลักๆเหล่านี้เสมอ เช่น Mainboard, RAM, Monitor, Keyboard, Mouse ส่วนรายละเอียดอื่นๆที่มีเพิ่มเติม ก็มักจะเป็นยี่ห้อของอุปกรณ์นั้น (ถ้ารายละเอียดเป็นตัวอักษร) เป็นความเร็ว ความจุขนาดของอุปกรณ์นั้น (ถ้ารายละเอียดเป็นตัวเลข) ส่วนรายละเอียดที่แตกต่างจากตัวอย่างที่นำเสนอนั้นจะมีอยู่ไม่มากแล้ว เราสามารถสอบถามจากร้านค้านั้นๆได้
ในปัจจุบันอุปกรณ์หรือเครื่องมีราคาไม่แน่นอน ดังนั้นก่อนซื้อเครื่องเราควรหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าเราจะซื้อรุ่นไหน ยี่ห้ออะไร โดยการอ่านข้อมูลในหนังสือหรือการเดินสำรวจตามร้านต่างๆ พร้อมหยิบโบว์ชัวหรือใบเสนอราคา เพื่อนำมาเปรียบเทียบสเป็คและราคาว่าเป็นอย่างไรและราคานี้ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของการซื้อด้วย ซึ่งในปัจจุบันเราแบ่งลักษณะของการซื้อคอมพิวเตอร์เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้1. กลุ่มผู้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ หรือเครื่องแบรนด์เนม (Brand Name) ซึ่งเป็น แบรนด์เนมทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เช่น Intel,Acer, IBM , Atec, Powell, Success PC เป็นต้น ข้อดี คือการได้เครื่องที่มีคุณภาพสูง อุปกรณ์ต่างๆถูกคำนวณและปรับแต่งด้วยวิศวกรที่ชำนาญ เพื่อให้ประสิทธิภาพเครื่องโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังมีการประกันและบริการหลังการขายเป็นอย่างดี (ในบางครั้งอาจมีการฝึกอบรมการใช้เครื่องหรือโปรแกรมแก่ผู้ใช้ด้วย)และเมื่อเครื่องเสียจะซ่อมได้ง่ายเนื่องจากช่างรู้อุปกรณ์ต่างๆเป็นอย่างดี ข้อเสีย คือเครื่องมีราคาแพงที่สุดและเลือกสเป็คตามต้องการไม่ได้ (เพราะว่าสเป็คได้ถูกกำหนดมาแล้วเป็นชุด) เนื่องจากการดูแลรักษาง่าย มีปัญหาน้อยที่สุด ดังนั้น การซื้อเครื่องแบบนี้จะเหมาะกับผู้ซื้อไม่มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องและมีทุนทรัพย์เพียงพอและเหมาะกับองค์กรที่ใช้เครื่องเป็นจำนวนมาก2.กลุ่มผู้ซื้อเครื่องประกอบตามใบสั่งจากร้าน ข้อดี คือสามารถกำหนดสเป็คและรุ่นได้ ราคาถูก (ส่วนการรับประกันและบริการหลังการขายขึ้นกับทางร้าน) สามารถจำกัดงบได้ ข้อเสียคือการประกอบเครื่องอาจเป็นเพียงการนำอุปกรณ์ตามที่เรากำหนดสเป็คไว้มาประกอบรวมกันเท่านั้น ไม่ได้คำนวณและปรับแต่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งกว่านั้นถ้าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น เราอาจได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอหรือได้สินค้าปลอม และเมื่อเครื่องเสียต้องยกมาที่ร้านเอง3.กลุ่มผู้ซื้อเครื่องประกอบโดยนำมาประกอบเอง ข้อดี คือได้อุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพเพราะเป็นอุปกรณ์ใหม่แกะกล่อง แน่ใจได้เลยว่าไม่ใช่สินค้าปลอม สามารถเลือกรุ่น และยี่ห้อได้เช่นเดียวกับแบบสั่งประกอบ แต่เลือกได้หลากหลายกว่า และอาจซื้อได้ถูกกว่าอีกด้วย ข้อเสีย คือราคาโดยรวมอาจจะสูงกว่าซื้อตามใบสั่งบางรายการ เพราะอุปกรณ์ที่ได้จะดีกว่าและผู้ซื้อต้องเสียเวลาในการประกอบเครื่องเองและติดตั้งโปรแกรมด้วยตนเอง "คอมพิวเตอร์มีขายเยอะแยะ ทำไมต้องประกอบเอง" คำตอบง่ายๆก็คือ ก็เพราะว่าเครื่องที่ประกอบใช้เองนั้นราคาประหยัดกว่า สามารถเลือกสเปคและยี่ห้ออุปกรณ์ได้ตามความพอใจ และที่สำคัญคือเลือกได้ทันสมัยกว่าเครื่องแบรนด์เนมทั่วไปอีกด้วย


การรับบริการหลังการขาย

สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจในการซื้อที่มีความสำคัญเท่า ๆ กับราคาและสเป็คก็คือบริการหลังการขาย เพราะเมื่อเครื่องมีปัญหาในการทำงาน และทางร้านรับประกันเครื่อง เราสามารถรับบริการได้ตามการประกันนั้น เช่น การซ่อมแซม เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รูปแบบในการรับประกันในปัจจุบันนี้รูปแบบการรับประกันมี 2 แบบคือ1. การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาทางร้านยินดีไปรับมาซ่อมและนำส่งเมื่อซ่อมเสร็จแล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยส่วนมากจะเป็นร้านที่มีชื่อเสียงและสินค้าที่รับประกันจะเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ เช่น สินค้าที่มี Brand name ต่างๆ และมีราคาค่อนข้างแพง2. การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง เป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาเราต้องนำเครื่องไปซ่อมเองที่ร้านและรับกลับเองเมื่อซ่อมเสร็จ และบางครั้งอาจมีการคิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมด้วย ซึ่งการรับประกันแบบนี้จะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกทั่วไปหรือการซื้อเครื่องมาประกอบเองสำหรับการเลือกบริการหลังการขายนี้เราต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าแบบใดจึงจะเหมาะสมกับเครื่อง และลักษณะของการใช้งานแบบไหน ถ้าเป็นการใช้งานเกี่ยวกับโปรแกรมกราฟฟิกหรือโปรแกรมที่มีความซับซ้อน (ระดับ Graphic User) เราควรเลือกรูปแบบการรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เพราะนอกจากที่เราจะได้สินค้าที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีแล้ว เมื่อเครื่องหรืออุปกรณ์มีการขัดข้องก็สามารถรับบริการหลังการขายตลอดระยะเวลาในการรับประกันได้ถ้าหากเราเลือกแบบไม่รวมค่าแรงเมื่อเครื่องขัดข้องหรือมีปัญหา เราจะต้องนำเครื่องไปที่ร้านเองทุกครั้งและเสียค่าใช้จ่ายมากด้วย เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่มีความซับซ้อนในการใช้งานกว่า ความเสียหายอาจจะมากกว่าเครื่องที่ใช้งานแบบธรรมดา



การตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์

เมื่อเราได้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ แล้วก่อนที่จะออกร้านเราควรเช็คหรือตรวจสอบเครื่องก่อน เพื่อตรวจดูว่าเครื่องที่ได้ตรงตามสเป็คและมีการชำรุดหรือไม่ ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบ 3 วิธีดังนี้1. การตรวจสอบโดยเปิดฝาเครื่อง โดยการเปิดฝาเครื่องออกมาเพื่อดูส่วนประกอบภายในเครื่องเป็นการตรวจที่ง่ายที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราทราบเพียงว่าส่วนประกอบของเครื่องมีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถเช็คการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ได้ ว่าทำงานได้จริงและมีความถูกต้องหรือไม่ 2. การตรวจสอบด้วยวินโดวส์ โดยการใช้โปรแกรมพิเศษในการตรวจ (เช่น Norton Utilities) หรือใช้Control Panel ที่มีอยู่แล้วในเครื่องก็ได้ ซึ่งวิธีนี้สามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ได้3. การตรวจเครื่องด้วยไบออส เป็นกระบวนการที่ตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ภายในเครื่องทุกครั้งที่เปิดเครื่องขึ้นมา เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (RAM) ส่วนของอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกและการ์ดที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าฮาร์ดแวร์เหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่หรือมีความขัดข้องในการทำงาน และเป็นวิธีที่เราสามารถเช็คว่า ได้เครื่องตามสเป็คหรือไม่ ถึงแม้ว่าการตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่ละเอียดมากนักแต่ก็ทำการตรวจได้รวดเร็วดังนั้นจึงเหมาะในการตรวจดูเครื่องก่อนออกจากร้านสำหรับการตรวจเครื่องโดยใช้ไบออสนั้นทำได้ง่าย เพราะหลังจากที่เราเปิดเครื่องขึ้นมาไบออสจะนำกระบวนการ POST (Power On Self Test) มาตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเครื่องให้เราทราบซึ่งถ้าหากเราพบว่าไม่ถูกต้องก็ให้แจ้งกับทางร้านให้ทราบก่อนนำออกจากร้านเพื่อทำการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ๆในกรณีที่เราสังเกตไม่ทันไม่ควรปิดเครื่องในระหว่างที่วินโดวส์กำลังบู๊ต เพราะจะทำให้วินโดวส์มีปัญหาในการทำงานภายหลังได้ เราควรปิดเครื่องก่อนที่เครื่องจะเข้าสู้ขั้นตอนการบู๊ตของวินโดวส์หรือรอให้วินโดวส์บู๊ตเสร็จก่อนแล้วจึง Restart เพื่อเริ่มการสังเกตข้อความที่แสดงโดยไบออสอีกครั้ง เมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมา โดยทั่วไปที่หน้าจอของเครื่องจะปรากฏหน้าจอ 3 หน้าจอ โดยที่

หน้าจอแรก จะแสดงข้อมูลของการ์ดแสดงผล ที่หน้าจอแรกนี้จะแสดงข้อมูลของการ์ดแสดงผลที่ใช้ในเครื่อง ได้แก่ ยี่ห้อ, รุ่นของชิป CPU, ชนิดของ Slot ติดตั้ง, ขนาดของแรมบนการ์ด,เวอร์ชันของ BIOSที่ใช้บนการ์ด

หน้าจอที่สอง จะแสดงการตรวจสอบสถานะของเครื่อง (Power On Self Test) โดยเริ่มจากมีเสียง Beep ดัง 1 ครั้ง แสดงว่าเครื่องทำงานปกติ (แต่ถ้าได้ยินเสียงดังมากกว่า 1 ครั้ง ให้รีบปิดเครื่องทันที) จากนั้นเครื่องจะเริ่มตรวจนับแรมรุ่นและความเร็วของซีพียู ต่อไปก็จะทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมไดรว์ต่อไป

หน้าจอที่สาม จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบ ที่หน้าจอนี้จะแสดงอุปกรณ์ เช่น รุ่นและความเร็วของซีพียู ขนาดของหน่วยความจำ Cache ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ รุ่นของฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมไดรว์ เป็นต้น

สแตติกแรมและไดนามิกส์แรม (Static RAM and Dynamic RAM)

สแตติกแรมและไดนามิกส์แรม (Static RAM and Dynamic RAM)

Static RAM หรือ SRAM เป็นวงจรที่สร้างให้เก็บข้อมูลในลักษณะ มีไฟและ ไม่มีไฟ ถ้ามีสัญญาณไฟฟ้าจะตรวจสอบตรรกะเป็น 1 ไม่มีสัญญาณให้ค่าตรรกะเป็น 0 ทำให้เก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาที่มีไฟเลี้ยงและทำงานด้วยความเร็วสูง แต่วงจรจะมีขนาดใหญ่ใช้กระแสไฟมากทำให้เกิดความร้อนในตัวชิพสูง ราคาแพงกว่าไดนามิกแรมมากจึงใช้เป็นหน่วยความจำแคชเท่านั้น

Dynamic RAM หรือ DRAM เป็นวงจรที่สร้างให้เก็บข้อมูลโดยการตรวจสอบว่า มีประจุ หรือ ไม่มีประจุ ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่าแบบแสตติกมากราคาถูกเป็นแรมที่ใช้ทำหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อเสียที่ประจุไฟฟ้าในแรมจะลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ จึงต้องมีระบบเติมประจุให้กับส่วนที่มีประจุเป็นระยะเรียกว่าการ Refresh เพื่อให้ไดนามิกแรมเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาที่ใช้งาน ช่วงเวลาที่เติมประจุเรียกว่า Refresh Rate
Bandwidth: คืออะไร

เป็นคำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้น แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมากขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณข้อมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวล จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 100MHz = 800 MB/s และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ซีพียูในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย Bandwidth ในทางปฏิบัติ ระบบบัสที่ผ่านมาจะมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบทางเดียว จึงทำให้ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน จึงต้องผลัดกันส่งและรับข้อมูลทำให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลช้า เปรียบเทียบระบบบัสได้กับการสื่อสารผ่านทางวิทยุรับส่งโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพูดอีกฝ่ายจะต้องเป็นผู้รับฟัง เนื่องจากต้องผลัดกันรับส่งข้อมูลดังนั้นเมื่อซีพียูต้องการร้องข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก (RAM) ซีพียูจะต้องร้องขอผ่านทาง Bus Control จากนั้น Bus Control จะร้องขอข้อมูลมาที่หน่วยความจำหลัก (RAM) เมื่อค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการได้แล้ว หน่วยความจำหลักจะส่งต่อข้อมูลให้ Bus Control กลับไปให้ซีพียู โดยทั้งหมดนี้กระทำบนบัสเดียวกัน ถ้าพิจารณาเวลาที่สูญเสียไปจากการร้องขอข้อมูลจาก Bus Control และที่ต้องเสียเวลารอหน่วยความจำหลักค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการแล้วจึงส่งข้อมูลที่ต้องการกลับไปสู่ Bus Control และส่งกลับไปสู่ซีพียูได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็น Delay Time ที่มีผลต่อค่า Read Latency โดยที่ Read Latency หมายถึง เวลาที่ใช้ระหว่างการร้องขอข้อมูลจากซีพียูผ่านทาง Frontside Bus (FSB) สรุป ทฤษฎีของ Bandwidth นั้นได้ว่า ถ้าระบบบัสมี Bandwidth ที่กว้างก็ยิ่งจะดีต่อการรับ-ส่งข้อมูลวิวัฒนาการหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ (Evolution of Computer Memory )ตามแผนภาพด้านบนเราจะเห็นได้ว่าหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์มีการจัด โครงสร้างเป็นแบบลำดับชั้น ซึ่งชั้นสูงสุดและอยู่ใกล้กับโปรเซสเซอร์มากที่คือ รีจีสเตอร์(Register)ที่อยู่ภายในโปรเซสเซอร์ จากนั้นลงมาก็เป็นหน่วยความจำแคช (Cache) หนึ่งหรือสองระดับ ซึ่งถ้ามีหลายระดับมักจะเรียกว่า Cache ระดับ L1, L2,…จากนั้นจึงเป็นหน่วยความจำหลักซึ่งมักจะสร้างมาจาก DRAM (Dynamic Random Access Memory) ซึ่งหน่วยความจำที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จัดว่าเป็นส่วนที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นแบบโวลาไทล์ (Volatile) คือ ข้อมูลจะหายไปเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง และโครงสร้างลำดับชั้นยังขยายต่อออกไปที่หน่วยความจำภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะหมายถึงอุปกรณ์ไอโอที่มีความเร็วสูง เช่น ฮาร์ดดิสก์ นอกเหนือจากนี้ได้แก่ อุปกรณ์ ZIP อุปกรณ์อ็อพติก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้นตำแหน่งการอ้างอิงข้อมูลในหน่วยความจำหลักโดยโปรเซสเซอร์นั้น มักจะเป็นตำแหน่งเดิม ดังนั้นหน่วยความจำ Cache มักจะคัดลอกข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่เคยถูกอ้างอิงไปแล้วเอาไว้ ซึ่งถ้าการทำงานของ Cache ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนใหญ่โปรเซสเซอร์ก็จะเรียกใช้ข้อมูลที่อยู่ใน Cache เป็นส่วนมากแม้ว่าโดยหลักการแล้วดูจะเป็นเรื่องง่าย แต่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ได้แสดงให้เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะมีจำนวนชนิด เทคโนโลยี โครงสร้าง ประสิทธิภาพ และราคากว้างมากที่สุด ไม่มีเทคโนโลยีใดทีจะสามารถตอบสนองความต้องการหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ดีที่สุดเมื่อเห็นและรู้จักโครงสร้างลำดับชั้นของหน่วยความจำกันแล้ว เราก็มาทำความรู้จักแต่ละส่วนว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรในเรื่องของขนาด หรือความจุ ความเร็ว และราคา โดยเริ่มกันที่รีจิสเตอร์ (Register) ถือว่าเป็นหน่วยความจำที่มีความจุน้อยสุด มีความเร็วสูงสุด และมีราคาแพงสุด โดยมันถูกสร้างเป็นส่วนหนึ่งของชิปหน่วยประมวลผลกลาง โดยอยู่ที่ตำแหน่งบนสุดในลำดับชั้นบนสุดของหน่วยความจำ ใช้เก็บข้อมูลเข้าและผลลัพธ์ตามที่ระบุไว้ในแต่ละคำสั่งของชุดคำสั่งของหน่วยประมวลผลกลาง ตัวอย่างเช่น- รีจิสเตอร์ที่ใช้เห็นค่าตัวเลยที่เป็นจำนวนต็ม (data registers) - รีจิสเตอร์ที่ช้เก็บตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยความจำ (address registers)- รีจิสเตอร์ที่ใช้เก็บค่าคงที่ (cinstant registers) ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว- รีจิสเตอร์ที่มีหน้าที่เฉพาะอย่าง (special purpose registers) เช่น program counter ที่มีหน้าที่เก็บตำแหน่งของคำสั่งถัดไปที่ต้องประมวลผลและสแต็คพ้อยท์เตอร์ ที่มีหน้าที่เก็บตำแหน่งของข้อมูลล่าสุดในสแต็ค แคช (Cache) หน่วยความจำ Cache สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะให้เป็นหน่วยความจำที่ทำงานได้เร็วทีสุด โดยปกติแล้วจะทำหน้าที่เก็บสำเนาข้อมูลบางส่วนในหน่วยความจำหลักเอาไว้ วิวัฒนาการของการพัฒนาหน่วยความจำ Cache สามารถเห็นได้ชัดเจนจากวิวัฒนาการของไมโครโปรเซสเซอร์จากบริษัท Intel เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น ช่วยให้สามารถใส่ Cache เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชิพโปรเซสเซอร์ได้ ซึ่งเรียกว่า on-chip cache เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันมีการนำ Cache มาใช้งานร่วมกัน และเรียกโครงสร้างประเภทนี้ว่า Cache 2 ระดับ โดยCache ระดับที่ 1(L1) หมายถึง on-chip cache Cache ระดับที่ 2(L2) หมายถึง Cache ภายนอก เหตุผลที่ต้องมี L2 Cache เนื่องจากถ้าหากโปรเซสเซอร์ไม่สามารถหาข้อมูลได้จาก L1 Cache ข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกพบที่นี่ ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นรวดเร็วกว่าการเข้าถึงหน่วยความจำหลักโดยตรง โดยเฉพาะถ้าชิพที่นำมาสร้าง L2 Cache เป็นแบบ SRAM ที่มีความเร็วเท่ากับบัสแล้ว ข้อมูลในนี้จะถูกนำส่งโปรเซสเซอร์ได้โดยไม่มีการรอจังหวะสัญาณนาฬิกา (zero-wait state transaction) เกิดขึ้นเลยซึ่งเป็น L2 Cache ชนิดที่เร็วที่สุดRAM (Random-Access Memory)คุณลักษณะที่สำคัญของRAM มีอยุ่ 2 ประการคือ ประการแรกสามารถอ่านหรือบันทึกข้อมูลได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วด้วยการใช้สัญญานไฟฟ้า ประการที่สอง ข้อมูลที่เก็บอยู่นั้นเป็นการเก็บไว้ชั่วคราว หน่วยความจำ RAM จะต้องได้รับพลังงานไฟฟ้ามาป้อนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่อไม่มีพลังงานไฟฟ้าข้อมูลทั้งหมดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปทันที ดังนั้นเจ้าRAMตัวนี้จึงถูกนำมาใช้เป็นหน่วยความจำชั่วคราวซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ DRAM และ SRAMDRAM หรือ (Dynamic RAM) เป็นหน่วยความจำที่ประกอบด้วยเซลล์ที่ใช้เก็บข้อมูลที่ใช้อัดประจุไฟฟ้าเข้าไปเก็บไว้ในตัว capacitor เป็นระยะอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้สามารถเก็บรักษาข้อมูลเอาไว้ได้ และแม้ว่าเซลล์ของ DRAMจะถูกนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลดิจิตอลเพียงบิตเดียวที่มีค่าเป็น “0” หรือ“1” ก็ตาม แต่ก็จัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทอะนาล็อก DDR2 RAM DDR2 PC2-4300 ขนาด 256 / 512 MB และ 1 GB Bus 533 MHz และ DDR2 PC2-5300 ขนาด 512 MB และ 1 GBDDR RAM รุ่น DDR PC-3200 ขนาด 256 / 512 MBและ 1 GBคราวนี้เราก็มารู้จักกับSRAM กันบ้างSRAM หรือ (Static RAM) จะทำงานแตกต่างจาก Dynamic RAM และจัดว่าเป็ฯอุปกรณ์ดิจิตอล ที่มีการจัดเรียงอึปรณ์ภายในเป็นลักษณะเดียวกบโครงสร้างของโปรเซสเซอร์ ใน SRAM ค่าไบนารี่ “0” หรือ“1” จะถูกเก็บไว้ด้วย flip-flop logic gate ซึ่งสามารถเก็บค่าไว้ในตัวเองได้นานตราบเท่าที่มีพลังงานไฟฟ้าป้อนให้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องอาศัยการถ่ายเทปประจุไฟฟ้าเหมือนกับที่เกิดขึ้นใน DRAM SODIMM RAM สำหรับเครื่อง Notebook มี 2 รุ่น คือ DDR PC-2700 และรุ่น DDR2 PC2-4300 SDRAMNCP SDRAM DIMM ขนาด 128/ 256 MB Bus 133 MHz 168 pinถ้าเราเปรียบเทียบระหว่าง DRAM กับ SRAM ทั้ง Dynamic และ Static แรมสามารถเก็บข้อมูลได้เพียงชั่วคราว คือจะต้องมีพลังงานไฟฟ้าส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่องเพื่อจะได้เก็บข้อมูลเอาไว้ได้ DRAMนั้นจะมีโครงสร้างที่ง่ายกว่า และมีขนาดเล็กกว่า สามารถบรรจุจำนวนเซลล์ต่อต่อพื้นที่ได้มากกว่า ทำให้มีราคาถูกกว่า SRAM ที่มีขนาดความจุเท่าๆกัน แต่อย่างไรก็ตาม DRAM จำเป็นจะต้องมีวงจรสำหรับการกระตุ้น (refresh cycle) เป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการทำงานที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้เปรียบเทียบเป็นต้นทุนคงที่ไม่ว่าหน่วยความจำ DRAM จะมีปริมาณน้อยหรือน้อยเท่าใดก็ตาม ทำให้นิยมนำ DRAM มาใช้ในปริมาณที่มาก ส่วน SRAM นั้นมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า ด้วยข้อดีและข้อเสียดังที่กล่าวนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จึงนำ DRAM มาใช้เป็นหน่วยความจำหลัก และนำ SRAM มาใช้เป็นหน่วROM (Read Only Memory) หน่วยความจำหลัก แบบอ่านได้อย่างเดียว นั่นคือ ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่มีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง นั่นคือแม้จะปิดเครื่องไปแล้วเมื่อเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิม นิยมใช้เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บชุดคำสั่งในการเริ่มต้นระบบ หรือชุดคำสั่งที่สำคัญๆของคอมพิวเตอร์ ข้อเสียของรอมคือจะไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง รวมทั้งความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรมนอกจากนี้ปัจจุบันยังมีรอมที่เป็นชิพพิเศษแบบต่างอีก เช่น PROM , EPROM, EEPROM และ Flash memory ซึ่งนิยมนำมาใช้เก็บ BIOS ในเครื่องรุ่นใหม่ๆ BIOS uses Flash memory, a type of ROM

PROM (Programmable Read Only Mimory) เป็นหน่วยความจำแบบ ROMที่สามารถบันทึกด้วยเครื่องบันทึกพิเศษได้หนึ่งครั้ง จากนั้นจะลบหรือแก้ไขไม่ได้EPROM (Erasable PROM) ใช้แสงอัลตราไวโอเลตในการเขียนข้อมูล สามารถนำออกจากคอมพิวเตอร์ไปลบโดยใช้เครื่องมือพิเศษและบันทึกข้อมูลใหม่ได้EEPROM (Electrically Erasable PROM) เป็นเทคโนโลยีซึ่งรวมเอาข้อดีของรอมและแรมเข้าด้วยกัน เป็นชิปที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยง สามารถเขียน แก้ไข หรือลบข้อมูลที่เก็บไว้ได้ด้วยโปรแกรมพิเศษโดยไม่ต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เลย แต่ราคาสูงและมีความจุตำกว่ามาก ทำให้การใช้งานยังจำกัดอยู่สำหรับงานที่ต้องการความเร็วสูง และเก็บข้อมูลไม่มากนัก ยความจำ cache ทั้งชนิด on-chip และ off-chipหลายๆคนอาจคุ้นเคยกับหน่วยความจำภายนอก หรือบางทีเราก็หมายถึงหน่วยความจำสำรองด้วยค่ะ เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่ว่านี้กันนะคะ และอันดับแรกที่อยากจะแนะนำคือฮาร์ดดสก์ (Hard disk)รูปแบบของหน่วยความจำที่ถูกที่สุดและใช้กันอย่างกว้างขวางทุกวันนี้คือ ฮาร์ดดิสค์ มีหลักการทำงานคล้ายกับฟลอปปีดิสก์ แต่ฮาร์ดดิสค์ทำมาจากแผ่นโลหะแข็งเรียกว่า Platters ทำให้เก็บข้อมูลได้มากและทำงานได้รวดเร็ว ส่วนมากจะถูกยึดติดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีบางรุ่นที่เป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ โดยจะเป็นแผ่นแม่เหล็กเพียงแผ่นเดียวอยู่ในกล่องพลาสติกบางๆ สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 1กิกะไบต์ขึ้นไป Virtual memoryจะเป็นวิธีในการนำพื้นที่ของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (ส่วนมากจะเป็นฮาร์ดดิสก์) มาจำลองเป็นหน่วยความจำ เนื่องจากหน่วยความจำของระบบมีจำกัดและมีราคาสูง การใช้หน่วยความจำเสมือนจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมขนาดใหญ่มาก ๆ ได้ ดดยไม่มีปัญหาเรื่องหน่วยความจำไม่เพียงพอ ระบบการทำงานของหน่วยความจำเสมือนจะใช้วิธีแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วน ๆ และคอมพิวเตอร์จะทำการ สลับส่วนของโปรแกรมที่ยังไม่ได้ใช้ลงไปยังหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง และทำการสลับกลับมาในหน่วยความจำหลักเมื่อจำเป็นต้องใช้งาน หลักการของหน่วยความจำเสมือนทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมที่ต้องการใช้ไม่ต่ำกว่า 6 MB บนเครื่องที่มีแรมเพียง 4 MBRAIDเป็นข้อกำหนดในการใช้ฮาร์ดดิสก์จำนวนหนึ่งมาประกอบกัน เพื่อช่วยเพิ่มคุณสมบัติในเรื่องของความทนทานต่อข้อผิดพลาดให้กันระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบบแผนของระบบ RAID มีอยู่หลายระดับ โดยที่ได้รับความนิยมใช้งานในปัจจุบันคือRAID-0 ใช้วิธีการทำ Data striping นั่นคือแบ่งแฟ้มเขียนลงไปบนดิสก์หลายๆตัว โดยไม่ซ้ากัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธภาพของฮาร์ดดิสก์RAID-1 จะใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นคู่ในการเขียนข้อมูลที่เหมือนกันทุกประการลงไปในฮาร็ดดิสก์ทั้งคู่RAID-3 คล้ายกัน RAID-0 แต่จะใช้ฮาร์ดดิสก์อีกตัวในการเก็บข้อมูลสำหรับแก้ไขข้อผิดพลาดRAID-5 เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยจะทำ Data striping และจะเก็บข้อมูลสำหรับแก้ไขข้อผิดพลาดลงในทุกๆฮาร์ดดิสก์ ทำให้มีประสิทธภาพสูง และป้องกันข้อผิดพลาดได้ดีRAID-10 บางครั้งเรียกว่า RAID-0+1 เนื่องจากใช้หลักการของ RAID-0 และ RAID-1 มารวมกัน ทำให้ได้ประสิทธิภาพและป้องกันการผิดพลาดได้ดี แต่ค่าใช้จ่ายก็จะสูงที่สุด ออปติคัสดิสก์ (Optical Disk)มีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดีเพลง คือใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาลในราคาไม่แพงมากนัก ในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบซึ่งใช้เทคโนโลยีต่างกันไป เช่น CD-ROM อ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไข หรือลบข้อมูลในแผ่น CD ได้ CD-R เป็น CD ที่สามารถเขียนข้อมูลหรือ write ที่เรียกว่าการ burning ได้ครั้งเดียวสามารถอ่านได้หลายคร้ง แต่ไม่สามารถลบข้อมูลได้ ปัจจุบันมีความจุตั้งแต่ 650MB ขึ้นไป CD-RW คล้ายกับ CD-R ต่างกันตรงที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ คือสามารถอ่านเขียนข้อมูลเพิ่มได้หลายครั้งDVD สามารถบันทึกข้อมูลได้สูงถึง 4.7 GB ขึ้นไป ซึ่งปัจจุบัน สามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 17 GBเทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)เป็นหน่วยความจำสำรองแบบ magnatic รุ่นแรก ๆ ที่มีการใช้ที่มีการใช้แม่เหล็กเคลือบบนแถบพลาสติกและพันรอบม้วนเทป 2 ม้วน โดยทั่วไปมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ reel-to-reel และ cartridge โดยทั่วไปมีความยาวหลายพันฟุต และมักใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น ระบบเมนเฟรม สำหรับ reel-to-reel จะมีขนาดใหญ่และความยาวกว่ามากข้อดี คือ ราคาไม่แพง และมีการทำงานที่เชื่อถือได้เหมาะกับการสำรองข้อมูลข้อเสีย คือ ทำงานช้าเพราะการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบตามลำดับ ซึ่งจะต้องกรอเทปกลับ หรือไปข้างหน้า ในขณะที่อัตราการเคลื่อนย้ายข้อมูลสามารถถูกทำให้เพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่มความเร็วของเทป

สเปคคอมพิวเตอร์



AMD Athlon™ X2 Dual-Core Processor 5600+ (2.8GHz,512KB L2x2)

AMD “GAME” platform : AMD 780G, socket AM2+

2 GB RAM DDR2 667MHz Dual Channel(1GBx2) (16GB max.)

320 GB harddisk 7,200rpm Serial ATA III

512 MB ATI RADEON™ HD 3650 PCI-Express

DVD+/-RW drive 22X SATA

65 in 1 Media Reader with USB

56Kbps V.92 internal fax modem

Warranty 3yrs limited part & 1yr onsite services

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ซีพียู(CPU)







กลไกการทำงานของซีพียู















ความเร็วในการทำงานของซีพียู
สิ่งสำคัญที่สุดที่เป็นตัวบ่งบอกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องไหนทำงานได้เร็วกว่ากัน เราก็มักจะดูกันที่ความเร็วซีพียู เป็นหลัก ซึ่งความเร็วของซีพียูที่ว่านี้จะมีหน่วยเป็น เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และกิกะเฮิรตซ์ (GHz) โดยความเร็วที่เราอ้างถึงก็คือ ความเร็วของสัญญาณนาฬิกานั่นเองหรือจะเรียกว่าสัญญาณ "Clock" ก็ได้ โดยสัญญาณนาฬิกาที่ว่านี้จะเป็นตัวกำหนดจังหวะในการทำงานให้กับอุปกรณ์ภานในเครื่องคอมพิวเตอร์ เทียบได้กับการแข่งเรือพาย ที่จำเป็นต้องมีผู้คอยให้จังหวะในการพายเรือเพื่อให้ฝีพายเกิดความพร้อมเพียงกัน ความเร็วของซีพียู (CPU Speed) คือ ตัวเลขที่ใช้วัดความเร็วในการทำงานของซีพียูในแต่ละตระกูลโดยซีพียูในแต่ละตระกูลจะมีหลายความเร็วให้เลือก อย่างเช่นซีพียูในตระกูล Pentium III ก็จะมีหลายความเร็ว ให้เลือกตั้งแต่ 450,500 และ 550 เมกะเฮิรตซ์ เป็นต้น
หน่วยวัดความเร็วซีพียูที่ควรรู้ความเร็วในการทำงานของซีพียูนี้จะวัดกันในหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (MHz = ล้านรอบต่อวินาที) แต่ซีพียูในปัจจุบันนั้นเร็วกว่าเมื่อก่อนมาก ดังนั้นจะเห็นได้จากซีพียูรุ่นใหม่ๆ จะมีความเร็วสูง ถึงระดับกิกะเฮิรตซ์ (GHz) โดยในส่วนของ "เมกะ" จะแทนด้วยตัวอักษร "M" ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,000,000 ในส่วนของ "เฮิรตซ์" จะแทนด้วยตัวอักษร "Hz" ซึ่งหมายถึง รอบต่อวินาที• 1 MHz (Mega Hertz) = 1,000,000 Mz 1 หรือ 1 ล้านเฮิรตซ์• 1 GHz (Giga Hertz) = 1,000,000,000 Hz หรือ 1 พันล้านเฮิรตซ์
เครื่องที่มีซีพียูความเร็วสูงอาจทำงานได้ช้ากว่าเครื่องที่มีซีพียูความเร็วต่ำกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้เร็วหรือช้านั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับซีพียูแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ขนาดของหน่วยความจำ ความเร็วของฮาร์ดดิสก์และการ์ดแสดงผล เป็นต้น ดังนั้นเครื่องที่
กลไกการทำงานของซีพียู
ขีดความสามารถของซีพียูที่จะต้องพิจารณา นอกจากขีดความสามารถในการประมวลผลภายใน การรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์ภายนอกแล้ว ยังต้องพิจารณาขีดความสามารถในการเข้าไปเขียนอ่านในหน่วยความจำด้วย ซีพียู 8088 สามารถเขียนอ่านในหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 1 เมกะไบต์ (ประมาณหนึ่งล้านไบต์) ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้นความเร็วของการทำงานของซีพียูขึ้นอยู่กับการให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาซีพียู 8088 ถูกกำหนดจังหวะด้วยสัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็ว 4.77 ล้านรอบใบ 1 วินาทีหรือที่เรียกว่า 4.77 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เร็วขึ้นเป็นลำดับไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม ฮาร์ดดิสก์ลงไปและปรับปรุงซอฟต์แวร์ระบบและเรียกชื่อรุ่นว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT)
ในพ.ศ . 2527 ไอบีเอ็มเสนอไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า พีซีเอที(PC-AT) คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นคือ 6 เมกะเฮิรตซ์การทำงานของซีพียู 80286 ดีกว่าเดิมมาก เพราะรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายในเป็นแบบ 16 บิตเต็ม การประมวลผลก็เป็นแบบ 16 บิต ทำงานด้วยความเร็วของจังหวะสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า และยังติดต่อเขียนอ่านกับหน่วยความจำได้มากกว่า คือ ติดต่อได้สูงสุด 16 เมกะไบต์ หรือ 16 เท่าของคอมพิวเตอร์รุ่นพีซี
พัฒนาการของเครื่องพีซีเอที ทำให้ผู้ผลิตอื่นออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามอย่างไอบีเอ็มโดยเพิ่มขีดความสามารถเฉพาะของตนเองเข้าไปอีก เช่น ใช้สัญญาณนาฬิกาสูงเป็น 8 เมกะเฮริตซ์
10 เมกะเฮิรตซ์ จนถึง 16 เมกะเฮิรตซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์บนรากฐานของพีซีเอทีจึงมีผู้ใช้กันทั่วโลก ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายอย่างเต็มที่
ในพ.ศ . 2529 บริษัทอินเทลประกาศตัวซีพียูรุ่นใหม่ คือ 80386 หลายบริษัทรวมทั้งบริษัทไอบีเอ็มเร่งพัฒนาโดยนำเอาซีพียู 80386 มาเป็นซีพียูหลักของระบบ ซีพียู 80386 เพิ่มเติมขีดความสามารถอีกมาก เช่น รับส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต ประมวลผลครั้งละ 32 บิต ติดต่อกับหน่วยความจำได้มากถึง 4 จิกะไบต์ (1 จิกะไบต์เท่ากับ 1024 บ้านไบต์) จังหวะสัญญาณนาฬิกาเพิ่มได้สูงถึง 33 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถสูงกว่าพีซีรุ่นเดิมมาก และใน พ.ศ. 2530 บริษัทไอบีเอ็มเริ่มประกาศขายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบแตกต่างออกไปโดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน (bus) ผลปรากฏว่า เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80386 ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ 80386 มีราคาแพงมาก ดังนั้นในพ. ศ. 2531 อินเทลต้องเอาใจลูกค้าในกลุ่มเอทีเดิม คือลดขีดความสามารถของ 80386 ลงให้เหลือเพียง 80386SX ซีพียู 80386SX ใช้กับโครงสร้างเครื่องพีซีเอทีเดิมได้พอดีโดยแทบไม่ต้องดัดแปลงอะไร ทั้งนี้เพราะโครงสร้างภายในซีพียูเป็นแบบ 80386 แต่โครงสร้างการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกใช้เส้นทางเพียงแค่ 16 บิต ไมโครคอมพิวเตอร์ 80386SX จึงเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูกและสามารถทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีเอทีได้
ในพ.ศ . 2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูตัวใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ชื่อว่า เพนเตียม การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ จึงได้เปลี่ยนมาใช้ซีพียูเพนเตียม ซึ่งเป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงกว่าซีพียู 80486 มีความซับซ้อนกว่าเดิม และใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิต
การพัฒนาทางด้านซีพียูเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ใช้งานได้ดีมากขึ้น และจะเป็นซีพียูในรุ่นที่ 6 ของบริษัทอินเทล โดยมีชื่อว่า เพนเตียมทู
กลับด้านบน
ย้อนกลับ หน้า 1 2
มีซีพียูความเร็วสูงๆก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำงานเร็วกว่าเครื่องที่มีซีพียูความเร็วต่ำกว่าเสมอไป ขั้นตอนการทำงานของซีพียูที่เข้าใจง่าย ๆ มีดังนี้

1. การนำคำสั่งหรือข้อมูลเข้ามาภายในตัวซีพีย ู
2. การจัดเรียงคำสั่งหรือข้อมูลที่นำเข้า
3. การถอดรหัสข้อมูล
4. การควบคุมและการตรวจสอบการทำงาน
5. การประมวลผลเลขทศนิยม
6. การประมวลผลทางด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ
กลไกการทำงานของซีพียู
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
การพัฒนาซีพียูก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปไมโครชิบที่เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์จึงเป็นหัวใจหลักของระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ล้วนแล้วแต่ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียูหลัก ในเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น ES9000 ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียู แต่อาจจะมีมากกว่าหนึ่งชิปประกอบรวมเป็นซีพียู
เทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากปี พ.ศ. 2518 บริษัทอินเทลได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 8080 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด 8 บิต ซีพียูรุ่นนี้จะรับข้อมูลเข้ามาประมวลผลด้วยตัวเลขฐานสองครั้งละ 8 บิต และทำงานภายใต้ระบบปฎิบัติการซีพีเอ็ม (CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิ้ลก็เลือกซีพียู 6502 ของบริษัทมอสเทคมาผลิตเป็นเครื่องแอปเปิ้ลทู ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้น
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยส่วนมากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูของตระกูลอินเทลที่พัฒนามาจาก 8088 8086 80286 80386 80486 และเพนเตียม ตามลำดับ
การพัฒนาซีพียูตระกูลนี้เริ่มจาก ซีพียูเบอร์ 8088 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2524 มีการพัฒนาเป็นซีพียูแบบ 16 บิต ที่มีการรับข้อมูลจากภายนอกทีละ 8 บิต แต่การประมวลผลบวกลบคูณหารภายในจะกระทำทีละ 16 บิต บริษัทไอบีเอ็มเลือกซีพียูตัวนี้เพราะอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ในสมัยนั้นยังเป็นระบบ 8 บิต คอมพิวเตอร์รุ่นซีพียู 8088 แบบ 16 บิตนี้เรียกว่า พีซี และเป็นพีซีรุ่นแรก
ขีดความสามารถของซีพียูที่จะต้องพิจารณา นอกจากขีดความสามารถในการประมวลผลภายใน การับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์ภายนอกแล้ว ยังต้องพิจารณาขีดความสามารถในการเข้าไปเขียนอ่านในหน่วยความจำด้วย ซีพียู 8088 สามารถเขียนอ่านในหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 1 เมกะไบต์ (ประมาณหนึ่งล้านไบต์) ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้น
ความเร็วของการทำงานของซีพียูขึ้นอยู่กับการให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาซีพียู 8088 ถูกกำหนดจังหวะด้วยสัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็ว 4.77 ล้านรอบใบ 1 วินาทีหรือที่เรียกว่า 4.77 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เร็วขึ้นเป็นลำดับ
ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมฮาร์ดดิสก์ลงไปและปรับปรุงซอฟต์แวร์ระบบและเรียกชื่อรุ่นว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT)
ในพ.ศ. 2527 ไอบีเอ็มเสนอไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า พีซีเอที (PC-AT) คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นคือ 6 เมกะเฮิรตซ์
การทำงานของซีพียู 80286 ดีกว่าเดิมมาก เพราะรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายในเป็นแบบ 16 บิตเต็ม การประมวลผลก็เป็นแบบ 16 บิต ทำงานด้วยความเร็วของจังหวะสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า และยังติดต่อเขียนอ่านกับหน่วยความจำได้มากกว่า คือ ติดต่อได้สูงสุด 16 เมกะไบต์ หรือ 16 เท่าของคอมพิวเตอร์รุ่นพีซี
พัฒนาการของเครื่องพีซีเอทีทำให้ผู้ผลิตอื่นออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามอย่างไอบีเอ็มโดยเพิ่มขีดความสามารถเฉพาะของตนเองเข้าไปอีก เช่น ใช้สัญญาณนาฬิกาสูงเป็น 8 เมกะเฮริตซ์ 10 เมกะเฮิรตซ์ จนถึง 16 เมกะเฮิรตซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์บนรากฐานของพีซีเอทีจึงมีผู้ใช้กันทั่วโลก ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายอย่างเต็มที่
ในพ.ศ. 2529 บริษัทอินเทลประกาศตัวซีพียูรุ่นใหม่ คือ 80386 หลายบริษัทรวมทั้งบริษัทไอบีเอ็มเร่งพัฒนาโดยนำเอาซีพียู 80386 มาเป็นซีพียูหลักของระบบ ซีพียู 80386 เพิ่มเติมขีดความสามารถอีกมาก เช่น รับส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต ประมวลผลครั้งละ 32 บิต ติอต่อกับหน่วยความจำได้มากถึง 4 จิกะไบต์ (1 จิกะไบต์เท่ากับ 1024 บ้านไบต์) จังหวะสัญญาณนาฬิกาเพิ่มได้สูงถึง 33 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถสูงกว่าพีซีรุ่นเดิมมาก และใน พ.ศ. 2530 บริษัทไอบีเอ็มเริ่มประกาศขายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบแตกต่างออกไปโดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน (bus)
ผลปรากฎว่า เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80386 ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ 80386 มีราคาแพงมาก ดังนั้นในพ.ศ. 2531 อินเทลต้องเอาใจลูกค้าในกลุ่มเอทีเดิม คือลดขีดความสามารถของ 80386 ลงให้เหลือเพียง 80386SX
ซีพียู 80386SX ใช้กับโครงสร้างเครื่องพีซีเอทีเดิมได้พอดีโดยแทบไม่ต้องดัดแปลงอะไร ทั้งนี้เพราะโครงสร้างภายในซีพียูเป็นแบบ 80386 แต่โครงสร้างการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกใช้เส้นทางเพียงแค่ 16 บิต ไมโครคอมพิวเตอร์ 80386SX จึงเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูกและสามารถทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีเอทีได้
ซีพียู 80486 เป็นพัฒนาการของอินเทลใน พ.ศ. 2532 และเริ่มใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปีต่อมา ความจริงแล้วซีพียู 80486 ไม่มีข้อเด่นอะไรมากนัก เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการรวมชิป 80387 เข้ากับซีพียู 80386 ซึ่งชิป 80387 เป็นหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์ และรวมเอาส่วนจัดการหน่วยความจำเข้าไว้ในชิป ทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็วขึ้นอีก
ในพ.ศ. 2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูตัวใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ชื่อว่า เพนเตียม การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้เปลี่ยนมาใช้ซีพียูเพนเตียม ซึ่งเป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงกว่าซีพียู 80486 มีความซับซ้อนกว่าเดิม และใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิต
การพัฒนาทางด้านซีพียูเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ใช้งานได้ดีมากขึ้น และจะเป็นซีพียูในรุ่นที่ 6 ของบริษัทอินเทล โดยมีชื่อว่า เพนเตียมทู

7 . การนำผลลัพธ์ที่คำนวณได้ไปเก็บไว้ที่ Register
8. การอ่านค่าผลลัพธ์นั้นไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำหลักหรือแรมเพื่อรอการแสดงผล